วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รู้รอบโรค...โรคแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง

หัวใจทำหน้าที่บีบตัวไล่เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆโดยไปตามหลอดเลือด ความดันคือแรงดันของเลือดกระทำต่อผนังหลอดเลือดจะมีสองค่าคือขณะที่หัวใจบีบตัวเรียกเรียก systolic และขณะหัวใจคลายตัวเรียก diastolic ดังนั้นความดันของคนจะมีสองค่าเสมอคือ systolic/diastolic ซึ่งจะเขียน 120/80 มม.ปรอท ยิ่งความดันโลหิตสูงเท่าใดก็จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากขึ้น เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจโต หัวใจวาย พบว่าความดันโลหิตsystolicที่เพิ่มขึ้นทุก 20 มม.ปรอท และความดันโลหิตdiastolicที่เพิ่มขึ้น 10 มม.ปรอท  จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือกเพิ่มขึ้น 2 เท่า ความดันของคนเปลี่ยนแปลงได้ตลอด เช่นขณะวิ่งความดันจะขึ้น ขณะนอนความดันจะลง การเปลี่ยนนี้ถือเป็นปกติ สำหรับคนที่เป็นความดันโลหิตสูง ความดันจะสูงกว่าค่าปกติตลอดเวลา หากไม่รักษาจะก่อให้เกิดปัญหาดังนี้



  • arteriosclerosis ความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดแดงแข็ง และตีบหากไขมันในเลือดสูง จะทำให้หลอดเลือดแดงตีบเร็วขึ้น ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไปพอเกิด โรคหัวใจหรือโรคอัมพาต
  • heart attack เมื่อหัวใจบีบตัวมากขึ้น ในที่สุดหัวใจก็ไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ เกิดอาการของหัวใจวาย และหากเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ จะเกิดอาการเจ็บหน้าอก บางครั้งหัวใจอาจหยุดเต้นทันที่
  • หัวใจโต ความดันโลหิตสูงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนา และหัวใจโตขึ้น ถ้าหัวใจทำงานไม่ไหวเกิดหัวใจวายได้
  • โรคไต หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ หน้าที่การกรองของเสียจะเสียไปเกิดไตวาย การรักษาต้องล้างไตหรือเปลี่ยนไต
  • stroke อาจเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ เนื่องจากลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือดแดงที่ตีบ [thrombotic stroke] หรือเกิดจากหลอดเลือดสมองแตก [hemorrhagic stroke]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น