วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

 
                                         Bethophen No.5                                        
Amy's Lullaby
A change of season

A new kind of love

                                                                    Speak softly love

piano....Robin Spielberg

Parlour siree
                                                                  Amazing randition
                                                                   After the rain
                                                                   What child is this?

Dreaming of summer
                                                                  Until you comhome

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

3 x 8 = ?????

3 x 8 = ?????

เอี๋ยนหุยใฝ่ศึกษา มีคุณธรรมงดงาม เป็นศิษย์รักของขงจื้อ  มีอยู่วันหนึ่ง เอี๋ยนหุยออกไปทำธุระที่ตลาด เห็นผู้คนจำนวนมากห้อมล้อมอยู่ที่หน้าร้านขายผ้า
จึงเข้าไปสอบถามดู จึงรู้ว่าเกิดการพิพาทระหว่างคนขายผ้ากับลูกค้า
ได้ยินลุกค้าตะโกนเสียงดังโหวกเหวกว่า “3x8ได้ 23 ทำไมท่านถึงให้ข้าจ่าย24เหรียญล่ะ!
เอี๋ยนหุยจึงเดินเข้าไปที่ร้าน หลังจากทำความเคารพแล้ว ก็กล่าวว่า “พี่ชาย 3x8 ได้ 24 จะเป็น 23 ได้ยังไงพี่ชายคิดผิดแล้ว ไม่ต้องทะเลาะกันหรอก

คนซื้อผ้าไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง ชี้หน้าเอี๋ยนหุยและกล่าวว่า “ใครให้เจ้าเข้ามายุ่ง! เจ้าอายุเท่าไหร่กัน! จะตัดสินก็มีเพียงท่านขงจื้อเท่านั้น ผิดหรือถูกมีท่านผู้เดียวที่ข้าจะยอมรับ
ไป ไปหาท่านขงจื้อกัน ”
เอี่ยนหุยกล่าวว่า “ก็ดี หากท่านขงจื้อบอกว่าท่านผิด ท่านจะทำอย่างไร?”
คนซื้อผ้ากล่าวว่าหากท่านวินิจฉัยว่าข้าผิด ข้ายอมให้หัวหลุดจากบ่า! แล้วหากเจ้าผิดล่ะ?”
เอี๋ยนหุยกล่าวว่า “หากท่านวินิจฉัยว่าข้าผิด ข้ายอมถูกปลดหมวก(ตำแหน่ง)
ทั้งสองจึงเกิดการเดิมพันขึ้น

เมื่อขงจื้อสอบถามจนเกิดความกระจ่าง ก็ยิ้มให้กับเอี๋ยนหุยและกล่าวว่า “3x8ได้ 23 ถูกต้องแล้วเอี๋ยนหุย เธอแพ้แล้ว ถอดหมวกของเธอให้พี่ชายท่านนี้เสีย
เอี๋ยนหุย ไม่โต้แย้ง ยอมรับในการวินิจฉัยของท่านอาจารย์ จึงถอดหมวกที่สวมให้แก่ชายคนนั้น
ชายผู้นั้นเมื่อได้รับหมวกก็ยิ้มสมหวังกลับไป
ต่อคำวินิจฉัยของขงจื้อ ต่อหน้าแม้เอี๋ยนหุยจะยอมรับ แต่ในใจกลับไม่ได้คิดเช่นนั้น
เอี๋ยนหุยคิดว่าท่านอาจารย์ชรามากแล้ว ความคิดคงเลอะเลือน จึงไม่อยากอยู่ศึกษากับขงจื้ออีกต่อไป

พอรุ่งขึ้น เอี๋ยนหุยจึงเข้าไปขอลาอาจารย์กลับบ้าน ด้วยเหตุผลที่ว่าที่บ้านเกิดเรื่องราว ต้องรีบกลับไปจัดการ
ขงจื้อรู้ว่าเอี๋ยนหุยคิดอะไรอยู่ ก็ไม่ได้สอบถามมากความ อนุญาตให้เอี๋ยนหุยกลับบ้านได้
ก่อนที่เอี๋ยนหุยจะออกเดินทาง ได้เข้าไปกราบลาขงจื้อ ขงจื้อกล่าวอวยพรและให้รีบกลับมาหากเสร็จกิจธุระแล้ว
พร้อมกันนั้นก็ได้กำชับว่า อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ใหญ่ อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง
เอี๋ยนหุยคำนับพร้อมกล่าวว่า “ศิษย์จะจำใส่ใจ” แล้วลาอาจารย์ออกเดินทาง
เมื่อออกเดินทางไปได้ระยะหนึ่ง เกิดพายุลมแรงสายฟ้าแลบแปลบ เอี๋ยนหุยคิดว่าต้องเกิดพายุลมฝนเป็นแน่
จึงเร่งฝีเท้าเพื่อจะเข้าไปอาศัยอยู่ไต้ต้นไม้ใหญ่ แต่ก็ฉุกคิดถึงคำกำชับของท่านอาจารย์ที่ว่า “อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ใหญ่ อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง
เราเองก็ติดตามท่านอาจารย์มาเป็นเวลานาน ลองเชื่ออาจารย์ดูอีกสักครั้ง คิดได้ดังนั้น จึงเดินออกจากต้นไม้ใหญ่
ในขณะที่เอี๋ยนหุยเดินไปได้ไม่ไกลนัก บัดดล สายฟ้าก็ผ่าต้นไม้ใหญ่นั้นล้มลงมาให้เห็นต่อหน้าต่อตา เอี๋ยนหุยตะลึงพรึงเพริด
คำกล่าวของพระอาจารย์ประโยคแรกเป็นจริงแล้ว หรือตัวเราจะฆ่าใครโดยไม่รู้สาเหตุ?

เอี๋ยนหุยจึงรีบเดินทางกลับ กว่าจะถึงบ้านก็ดึกแล้ว แต่ไม่กล้าปลุกคนในบ้าน เลยใช้ดาบที่นำติดตัวมาค่อยๆเดาะดาลประตูห้องของภรรยา
เมื่อเอี๋ยนหุยคลำไปที่เตียงนอน ก็ต้องตกใจ ทำไมมีคนนอนอยู่บนเตียงสองคน!
เอี๋ยนหุยโมโหเป็นอย่างยิ่ง จึงหยิบดาบขึ้นมาหมายปลิดชีพผู้ที่นอนอยู่บนเตียง
เสียงกำชับของอาจารย์ก็ดังขึ้นมา “อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง

เมื่อเขาจุดตะเกียง จึงได้เห็นว่า คนหนึ่งคือภรรยา อีกคนหนึ่งคือน้องสาวของเขาเอง
พอฟ้าส่าง เอี๋ยนหุยก็รีบกลับสำนัก
เมื่อพบหน้าขงจื้อจึงรีบคุกเข่ากราบอาจารย์และกล่าวว่า “ท่านอาจารย์ คำกำชับของท่านได้ช่วยชีวิตของศิษย์ ภรรยาและน้องสาวไว้
ทำไมท่านจึงรู้เหมือนตาเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับศิษย์บ้าง?”
ขงจื้อพยุงเอี๋ยนหุยให้ลุกขึ้น และกล่าวว่า “เมื่อวานอากาศไม่ค่อยสู้ดีนัก น่าจะมีฟ้าร้องฟ้าแลบเป็นแน่
จึงเตือนเธอว่า อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ใหญ่
และเมื่อวาน เธอจากไปด้วยโทสะ แถมยังพกดาบติดตัวไปด้วย
อาจารย์จึ้งเตือนเธอว่า อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง ”
เอี๋ยนหุยโค้งคำนับ “ท่านอาจารย์คาดการดังเทวดา ศิษย์รู้สึกเคารพเลื่อมใสท่านเหลือเกิน
ขงจื้อจึงตักเดือนเอี๋ยนหุยว่า “อาจารย์ว่าที่เธอขอลากลับบ้านนั้นเป็นการโกหก ที่จริงแล้วเธอคิดว่าอาจารย์แก่แล้ว ความคิดเลอะเลือน
ไม่อยากศึกษากับอาจารย์อีกแล้ว เธอลองคิดดูสิ อาจารย์บอกว่า 3x8ได้ 23 เธอแพ้ ก็เพียงแค่ถอดหมวก
หากอาจารย์บอกว่า 3x8ได้ 24 เขาแพ้ นั่นหมายถึงชีวิตของคนๆหนึ่ง เธอคิดว่าหมวกหรือชีวิตสำคัญล่ะ? ”

เอี๋ยนหุยกระจ่างในฉับพลัน คุกเข่าต่อหน้าขงจื้อ แล้วกล่าวว่า “ท่านอาจารย์เห็นคุณธรรมเป็นสำคัญ โดยไม่เห็นแก่เรื่องถูกผิดเล็กๆน้อยๆ
ศิษย์คิดว่าอาจารย์แก่ชราจึงเลอะเลือน ศิษย์เสียใจเป็นที่สุด

จากนั้นเป็นต้นไป ไม่ว่าขงจื้อจะเดินทางไปยังแห่งหนตำบลใด เอี๋ยนหุยติดตามไม่เคยห่างกาย
จากตำนานเรื่องเล่านี้ ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงเพลงๆหนึ่งของอิวเค่อหลี่หลิน(นักร้องดูโอของไต้หวัน)
ที่ร้องว่า “หากสูญเสียเธอไป ต่อให้เอาชนะทั้งโลกได้แล้วจะยังไงเช่นกัน
บางครั้งคุณอาจเอาชนะคนอื่นด้วยเหตุผลของคุณ แต่อาจจะสูญเสียสิ่งที่สำคัญที่สุดไป ”
เรื่องราวต่างๆ แบ่งเป็นหนักเบารีบช้า อย่าเป็นเพราะต้องการเอาชนะให้ได้ แล้วทำให้เสียใจไปตลอดชีวิต
เรื่องราวมากมายที่ไม่ควรทะเลาะกัน ถอยหนึ่งก้าวทะเลกว้างฟ้างาม
ทะเลาะกับลูกค้า ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (วันที่ส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ใหม่ คุณก็จะรู้สึก)
ทะเลาะกับเถ้าแก่ ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (วันที่ตรวจผลงานปลายปีมาถึง คุณก็จะรู้สึก)
ทะเลาะกับภรรยา ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (เธอไม่สนใจคุณ คุณก็หากับข้าวกินเองละกัน)
ทะเลาะกับเพื่อน ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (เคลียร์ไม่ได้ คุณอาจจะเสียเพื่อนไปเลย)
ใบชา เกิดสีสวยและกลิ่นหอมน่าลิ้มลองได้ ก็เพราะโดนน้ำร้อนลวก
ชีวิตของคนเราก็เช่นเดียวกัน เพราะเผชิญกับอุปสรรคครั้งแล้วครั้งเล่า
จึงเหลือไว้ซึ่งเรื่องราวเป็นตำนานให้ได้เล่าขานน่าตามติด

ผู้ที่รู้สำนึกคุณอยู่เสมอ จึงเป็นผู้มีวาสนามากที่สุด


วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รู้รอบโรค...การรักษาความดันโลหิตสูงโดยไม่ต้องใข้ยา

รู้รอบโรค...อวัยวะที่เกิดโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยที่ไม่มีอาการ

ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนานมักจะมีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด หรือการทำงานของอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่ หลอดเลือด ตา สมอง หัวใจ ไต การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะดำเนินไปอย่างช้าๆโดยที่ไม่มีอาการอะไร ดังนั้นในการเริ่มต้นให้การรักษาจะต้องนำผลการตรวจเหล่านี้มาพิจารณาด้วย การตรวจเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นการตรวจเพิ่มเติม แพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม การตรวจดังกล่าวได้แก่
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบว่ากล้ามเนื้อหัวใจหน้า หรือมีหัวใจโต หากมีกล้ามเนื้อหัวใจหนาแสดงว่าความดันโลหิตที่สูงมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ โดยที่ยังไม่เกิดอาการ
  • การตรวจคลื่นเสียงหัวใจหรือที่เรียกว่า Echocardiographic พบว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือโต
  • ทำ ultrasound พบว่ามีความหนาตัวของผนังด้านในหลอดเลือดมากกว่า Carotid wall thickening (IMT>0.9 mm) หรือเกิดคราบ plaque
  • วัดความเร็วของหลอดเลือดแดงที่ ค อและขา Carotid-femoral pulse wave velocity >12 m/s
  • วัดความดันที่ข้อเท้าเทียบกับที่แขนได้น้อยกว่า Ankle/brachial BP index<0.9
  • ตรวจเลือดพบว่าการทำงานของไตเริ่มเสื่อม:
    • ผู้ชาย: 115–133 mmol/l (1.3–1.5 mg/dl);
    • ผู้หญิง: 107–124mmol/l (1.2–1.4 mg/dl)
  • การทำงานของไตลดลงโดยมีอัตราการกรองของไตลดลง (<60 ml/min/1.73m2)
  • ตรวจปัสสาวะพบไขขาวMicroalbuminuria 30–300 mg/24 h หรืออัตราส่วนของไขขาวต่อไต albumin-creatinine ratio: 22 (M); or 31(W) mg/g creatinine
การตรวจทั้งหมดดังกล่าวเบื้องต้นหากพบว่าผิดปกติแสดงว่าความดันโลหิตที่สูงมีผลต่ออวัยวะดังกล่าว จะถือว่าอวัยวะได้รับความเสียหายโดยที่ยังไม่เกิดอาการ

กาแฟกับสุขภาพ

หลังจากตื่นนอนตอนเช้าได้กาแฟหอมๆสักแก้วจะรู้สึกกระชุ่มกระชายตลอดทั้งเช้า บางท่านรับกาแฟและขนมบางอย่างเป็นอาหารเช้า หลังจากทำงานก็ยังมี coffee break บางท่านยังดื่มหลังอาหารเที่ยงและตอนสายๆ ยิ่งต้องเข้าประชุมกาแฟหอมๆสักแก้วจะทำให้สดชื่นหายง่วง ปัจจุบันการดื่มกาแฟเป็นที่นิยมการอย่างแพร่หลายตามปั้มน้ำมัน ตามห้างสรรพสินค้ามีการขายอย่างมากมาย จะเห็นได้ว่ากาแฟเป็นส่วนหนึ่งหรือบางคนอาจจะเป็นส่วนสองส่วนสามของชีวิตประจำวัน แต่จะมีใครกังวลหรือไม่ว่าที่เราดื่มทุกวันวันละหลายแก้วแล้วมันมีโทษ หรือคุณประโยชน์อะไรบ้าง หากคุณเป็นคอกาแฟคุณควรจะอ่านบทความนี้
ส่วนประกอบที่สำคัญของกาแฟ
ส่วนประกอบที่สำคัญของกาแฟคือ caffeine หรือมีชื่อทางเคมีว่า 1,3,7-trimethylxanthine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของยาขยายหลอดลม theophylline
caffeine สามารถพบได้ในหลายชนิดได้แก่ เมล็ดคา เมล็ดกาแฟ ใบชา โคลา caffeineถูกผสมลงในน้ำอัดลม ยาแก้หวัดบางชนิด ยาแก้ปวด ยาลดน้ำหนัก
กาแฟจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วหลังจากที่เราดื่มกาแฟและจะถูกขับออกไปครึ่งหนึ่งในเวลาประมาณ 4 ชั่วโมงกาแฟจะไม่สะสมในร่างกายโดยจะถูกทำลายและขับออกหมด ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีการขับถ่ายกาแฟมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ ดังนั้นคนที่สูบบุหรี่หากต้องการการกระตุ้นของกาแฟจะต้องดื่มกาแฟบ่อยกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ คนท้องและผู้ที่กินยาคุมกำเนิดจะมีการขับกาแฟน้อยกว่าคนทั่วไป กาแฟจะออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นสมองทำให้รู้สึกสดชื่นและมีสมาธิ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ากาแฟจะทำให้มีการหลั่งสาร cortisone และ adrenaline ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย
ปริมาณcaffeine ที่มีในเครื่องดื่มแต่ละชนิดขึ้นกับความเข้มข้น ตารางข้างล่างเป็นตัวอย่างปริมาณกาแฟ
Milligrams of Caffeine
ชนิดของเครื่องดื่มปริมาณRange*
Coffee (150ml cup)ต้ม, drip method
เครื่องต้มกาแฟ
กาแฟสำเร็จ
Decaffeinated
Espresso (30ml cup)

115
80
65
3
40

60-180
40-170
30-120
2-5
30-50
Teas (150ml cup)ชาที่ต้ม
ชาเป็นซอง
ชาเย็น (240ml glass)

40
30
45

20-90
25-50
45-50
น้ำอัดลม (180ml)1815-30
Cocoa beverage (150ml)42-20
นมรสChocolate  (240ml) 52-7
Chocolateนม (30g)61-15
Dark chocolate, semi-sweet (30g)205-35
Cooking chocolate (30g)2626

นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่าวันหนึ่งๆเราจะรับสาร caffeine ประมาณ 250-600 มก.ซึ่งไม่เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย
ผลดีของกาแฟ
กาแฟจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้ไม่ง่วง สมาธิในการทำงานดีขึ้น ผู้ที่ดื่มกาแฟจะทำให้ไม่ง่วงนอน มีสมาธิในการทำงาน และยังทำให้ความสามารถในการทำงานดีขึ้น และยังลดอาการปวดเมื่อยเนื่องจากไขหวัด
ผลดีของกาแฟจะทำให้ไม่ง่วงนอนโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเป็นกะ และช่วยลดอุบัติเหตุขณะขับรถ
กระตุ้นอวัยวะของร่างกายและเพิ่มการเผาผลาญไขมันและช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย กาแฟจะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อนๆดังนั้นขณะออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกาย ไม่ควรรับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาแฟเพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ
การดื่มกาแฟจะเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายหรือไม่
จากการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟจะทำให้สามารถออกกำลังกายได้นานขึ้น แต่การศึกษาดังกล่าวศึกษาในผู้ชาย คำแนะนำอาจจะดื่มกาแฟสักแก้ประมาณหนึ่งชั่วโมงก่อนออกกำลังกาย หากดื่มมากกาแฟจะออกฤทธิ์เสมือนยาขับปัสสาวะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ปริมาณกาแฟที่ขับออกมาทางปัสสาวะหากมากกว่า 12 micrograms/mlจะถูกห้าม(เท่ากับการดื่มกาแฟ 4 แก้ว)
ดื่มนานๆจะติดกาแฟหรือไม่
องค์การอนามัยโลกกล่าวว่าไม่มีหลักฐานว่ากาแฟจะเป็นสารซึ่งหากดื่มนานๆแล้วจะเสพติด การดื่มกาแฟจะเป็นนิสัยมากกว่าเสพติดเนื่องจากไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณของกาแฟ และเมื่อหยุดกาแฟบางคนก็เกิดอาการปวดหรือมึนศีรษะเพียงเล็กน้อย
ดื่มกาแฟแค่ไหนถึงจะเรียกว่ามากไป
การดื่มกาแฟ 2-4 แก้วอาจจะไม่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ แต่หากดื่มมากไปอาจจะมีผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้ หากดื่มกาแฟมากเกินไป 4-7แก้วอาจจะเกิดผลเสียอะไรบ้าง
  • นอนไม่หลับ
  • หงุดหงิดง่าย
  • สับสน
  • อารมณ์แปรปวน
  • คลื่นไส้อาเจียน และอาการทางเดินอาหาร
  • ใจสั่นหรือหัวใจเต้นเร็ว
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • ปวดสีรษะ
  • วิตกกังวล
หากท่านเกิดอาการดังกล่าวแสดงว่าท่านดื่มกาแฟมากเกินไป
สำหรับท่านที่ดื่มกาแฟประจำเมื่อหยุดดื่มไป 12-24 ชม ก็จะเกิดอาการของการหยุดการแฟ อาการจะคงอยู่ประมาณ 24 ชม อาการดังกล่าวจะหายไป
ยาที่เรารับประทานจะมีผลต่อกาแฟหรือไม่
ยาหรือสมุรไพรบางชนิดอาจจะส่งผลต่อระดับกาแฟอินในร่างกาย
  • ผู้ที่รับประทานยา Ciprofloxacin (Cipro)หรือ norfloxacin อาจจะทำให้ระดับกาแฟในเลือดสูงขึ้นทำให้เกิดอาการข้างเคียง
  • ผู้ที่ทานยาขยายหลอดลม เช่น Theophylline จะออกฤทธิ์เหมือนกาแฟ อาจจะทำให้เกิดอาการใจสั่น
  • สำหรับผู้ที่รับประทานสมุนไพร Ephedra (ma-huang) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดปกติหรือชัก หากรับร่วมกับกาแฟจะเพิ่มความเสี่ยงดังกล่าว
ผลดีของกาแฟต่อสุขภาพ
  • โรคหอบหืด มีรายงานว่าการดื่มกาแฟวันละ 3 แก้วจะลดอาการหอบหืด หากดื่มมากกว่า 6 แก้วการทดสอบสมรรถภาพปอดจะดีขึ้น
  • กาแฟก็เหมือนกับพืชอื่นๆมีสาร flavanoid ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
  • การดื่มกาแฟจะลดอาการง่วงนอน และทำให้มีสมาธิในการทำงานดีขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเป็นกะ และลดอุบัติเหตุขณะขับขี่
  • กาแฟช่วยลดอาการซึมเศร้าและคลายความวิตกกังวล
  • การดื่มกาแฟเป็นประจำจะลดอุบัติการณ์การเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และยังลดอุบัติการณ์ของนิ่วในถุงน้ำดี
  • มีหลักฐานพอจะเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่อดื่มวันละ 4 แก้ว
กาแฟกันสุขภาพสตรี
  • กาแฟกับการตั้งครรภ์ The Food Standards Agency ก่อนหน้านี้มีความเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะเป็นผลเสียต่อการตั้งครรภ์ แต่จากหลักฐานยังไม่พบผลเสียดังกล่าว ประเทศอังกฤษได้แนะนำว่าการดื่มวันละ 3-4 แก้วขณะตั้งครรภ์ไม่เกิดผลเสีย สำหรับผู้ที่ตั้งท้องหากงดได้ก็น่าจะงด
  • การเป็นหมัน พบว่าหากดื่มกาแฟมากกว่า 1แก้วจะมีโอกาสเกิดการเป็นหมันเพิ่มขึ้น
  • สมาคมสูติของอเมริกาแนะนำสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ก็สามารถดื่มได้ไม่เกินวันละหนึ่งแก้วโดยไม่ทำให้คลอดก่อนกำหนด หรือเกิดอาการแท้ง แต่หากดื่มมากกว่านี้มีรายงานว่าอาจจะเกิดผลเสียต่อการตั้งครรภ์
กาแฟกับโรคกระดูกพรุน
  • ยังมีรายงานทั้งสนับสนุนว่าการดื่มกาแฟทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน บางรายงานก็กล่าวว่าไม่เกิดโรค ผู้ที่เกิดโรคกระดูกพรุนมักจะได้รับแคลเซียมไม่พอแนะนำว่าควรจะดื่มนมเริมสำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 แก้วขึ้นไป
กาแฟกับโรคมะเร็ง
  • มีรายงานจากWorld Cancer Research Fund ว่าการดื่มกาแฟปริมาณปานกลางไม่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็ง
  • มีรายงานกล่าวว่าการดื่มกาแฟมีผลดีต่อการป้องกันมะเร็งตับอ่อนเล็กน้อย
  • มีรายงานว่าการดื่มกาแฟอาจจะมีผลป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ๋
กาแฟกับโรคหัวใจ
  • เท่ามีรายงานขณะนี้พบว่าการดื่มกาแฟวันละ 4 แก้วไม่มีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจ
กาแฟกับความดันโลหิตสูง
  • การดื่มกาแฟ 2-3แก้วจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มได้ 3-14/4-13 แต่ยังไม่ทราบกลไกที่ทำให้ความโลหิตสูงขึ้น สำหรับผู้ที่ดื่มเป็นประจำความดันโลหิตอาจจะไม่สูง คำแนะนำ สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรจะลดปริมาณกาแฟลงไม่เกินสองแก้วต่อวัน และควรจะงดดื่มในกรณีที่ความดันจะสูง เช่น การออกกำลังกาย การทำงานหนัก ท่านอาจจะทดสอบว่ากาแฟมีผลต่อความดันหรือไม่โดยวัดความดันโหอต 30 นาทีหลังจากดื่มกาแฟ หากสูงขึ้นควรจะลดหรือเลิก
กาแฟกับโรคเบาหวาน
  • จากการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟจะทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น 15 % กรดไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น ฮอร์โมน epinephrineเพิ่มสูงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รู้รอบโรค...ความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

รู้รอบโรค...โรคแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง

หัวใจทำหน้าที่บีบตัวไล่เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆโดยไปตามหลอดเลือด ความดันคือแรงดันของเลือดกระทำต่อผนังหลอดเลือดจะมีสองค่าคือขณะที่หัวใจบีบตัวเรียกเรียก systolic และขณะหัวใจคลายตัวเรียก diastolic ดังนั้นความดันของคนจะมีสองค่าเสมอคือ systolic/diastolic ซึ่งจะเขียน 120/80 มม.ปรอท ยิ่งความดันโลหิตสูงเท่าใดก็จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากขึ้น เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจโต หัวใจวาย พบว่าความดันโลหิตsystolicที่เพิ่มขึ้นทุก 20 มม.ปรอท และความดันโลหิตdiastolicที่เพิ่มขึ้น 10 มม.ปรอท  จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือกเพิ่มขึ้น 2 เท่า ความดันของคนเปลี่ยนแปลงได้ตลอด เช่นขณะวิ่งความดันจะขึ้น ขณะนอนความดันจะลง การเปลี่ยนนี้ถือเป็นปกติ สำหรับคนที่เป็นความดันโลหิตสูง ความดันจะสูงกว่าค่าปกติตลอดเวลา หากไม่รักษาจะก่อให้เกิดปัญหาดังนี้



  • arteriosclerosis ความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดแดงแข็ง และตีบหากไขมันในเลือดสูง จะทำให้หลอดเลือดแดงตีบเร็วขึ้น ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไปพอเกิด โรคหัวใจหรือโรคอัมพาต
  • heart attack เมื่อหัวใจบีบตัวมากขึ้น ในที่สุดหัวใจก็ไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ เกิดอาการของหัวใจวาย และหากเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ จะเกิดอาการเจ็บหน้าอก บางครั้งหัวใจอาจหยุดเต้นทันที่
  • หัวใจโต ความดันโลหิตสูงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนา และหัวใจโตขึ้น ถ้าหัวใจทำงานไม่ไหวเกิดหัวใจวายได้
  • โรคไต หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ หน้าที่การกรองของเสียจะเสียไปเกิดไตวาย การรักษาต้องล้างไตหรือเปลี่ยนไต
  • stroke อาจเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ เนื่องจากลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือดแดงที่ตีบ [thrombotic stroke] หรือเกิดจากหลอดเลือดสมองแตก [hemorrhagic stroke]

รู้รอบโรค...ความดันโลหิตแค่ไหนจึงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 ความดันโลหิตแค่ไหนจึงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
เมื่อตรวจร่างกายแล้วว่าความดันโลหิตสูงต้องรับประทานยาทันทีหรือไม่
เมื่อท่านตรวจพบความดันโลหิตสูงถ้าไม่สูงมากอาจจะไม่จำเป็นต้องรับประทานยา แต่หากสูงมากก็จำเป็นต้องรับประทานยา ตารางข้างล่างจะเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย

ความดันโลหิตที่วัดได้ (mm Hg)*
ความรุนแรงของความดันโลหิตSystolic Diastolicจะต้องทำอะไร
ความดันโลหิตที่ต้องการน้อยกว่า 120น้อยกว่า 80ให้ตรวจซ้ำใน 2 ปี
ความดันโลหิตสูงขั้นต้น Prehypertensionl130-13985-89ตรวจซ้ำภายใน 1 ปี
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงระดับ 1 Stage 1 (mild)140-15990-99ให้ตรวจวัดความดันอีกใน 2 เดือน
ความดันโลหิตสูงระดับ 2 Stage 2 (moderate)>160>100ให้พบแพทย์ใน 1 เดือน

สาเหตุของความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่านใหญ่ไม่ทราบสาเหตุเรียก primary หรือ essential hypertension  เราสามารถควบคุมความดันโลหิตได้แต่รักษาไม่หายดังนั้นจึงจำเป็นต้องป้องกัน ส่วนที่ทราบสาเหตุเรียก secondary hypertension เช่น เนื้องอกต่อมหมวกไต ยาคุมกำเนิด หากทราบสาเหตุสามารถรักษาให้หายขาดได้
Primary hypertension
หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า essential hypertension เป็นความดันโลหิตสูงที่พบมากที่สุดกลุ่มนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารเค็ม อ้วน กรรมพันธุ์ อายุมาก เชื้อชาติ และการขาดการออกกำลังกาย
Secondary hypertension
เป็นความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสาเหตุที่พบได้บ่อยคือ
  • โรคไต ผู้ป่วยที่มีหลอดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบทั้งสองข้างมักจะมีความดันโลหิตสูง
  • เนื้องอกที่ต่อมหมวกไตพบได้สองชนิดคือชนิดที่สร้างฮอร์โมน  hormone aldosterone ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับเกลือแร่โปแตสเซียมในเลือดต่ำ อีกชนิดหนึ่งได้แก่เนื้องอกที่สร้างฮอร์โมน catecholamines เรียกว่าโรค Pheochromocytoma ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับใจสั่น
  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ Coarctation of the aorta พบได้น้อยเกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบบางส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตต่ำ
ปกติความดันโลหิตยิ่งต่ำยิ่งดีเพราะเกิดโรคน้อย แต่หากความดันโลหิตที่ต่ำทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ เป็นลมเวลาลุกขึ้นแสดงว่าความดันต่ำไป สาเหตุที่พบได้มีดังนี้
  • ผู้ป่วยที่มีโรคระบบประสาทหรือต่อมไร้ท่อ
  • ผู้ที่นอนป่วยนานไป
  • ผู้ที่เสียน้ำหรือเลือด

เคล็ดลับในการรักษาความดันโลหิตสูง
  1. ตรวจวัดความดันเป็นระยะ
  2. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยการลดน้ำหนักลง 10% สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
  3. งดอาหารเค็มหรือเกลือไม่ควรได้รับเกลือเกิน 6 กรับต่อวัน
  4. รับประทานอาหารไขมันต่ำ
  5. งดการสูบบุหรี่
  6. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  7. ไปตามแพทย์นัด
  8. ออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำโดยการออกกำลังวันละ 30-45 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วัน
  9. รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียม
  10. แนะนำให้พาพ่อแม่พี่น้องและลูกไปตรวจวัดความดันโลหิต


ความดันโลหิตสูงในเด็ก
เราไม่ค่อยพบความดันโลหิตสูงในเด็ก แต่เด็กก็สามารถเป็นความดันโลหิตสูงการค้นพบความดันโลหิตสูงตั้งแต่แรกจะสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคไต ดังนั้นเด็กควรที่จะได้รับการวัดความดันโลหิตเหมือนผู้ใหญ่ สาเหตุก็มีทั้ง primary และ secondary พบว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิต หรือบางเชื้อชาติ กลุ่มเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์แนะนำอาหาร และการออกกำลังกาย หากความดันโลหิตไม่ลงจึงให้ยารับประทาน
คนที่เป็นความดันโลหิตสูงสามารถอบ Sauna ได้หรือไม
คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถอาบน้ำอุ่นหรืออบ Sauna ได้โดยที่ไม่เกิดผลเสีย ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจหอบควรจะหลีกเลี่ยงการอบ Sauna หรือแช่น้ำร้อน และไม่ควรที่จะดื่มสุรา นอกจากนั้นไม่ควรอาบน้ำร้อนสลับกับน้ำเย็นเพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
ทำไมต้องรักษาความดันโลหิตสูง
เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการ แต่โรคความดันโลหิตสูงสามารถทำให้เกิดโรคแก่ร่างกาย เช่นทำให้หัวใจต้องทำงานหนักอาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งของโรคอัมพาต และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ผู้ที่ไม่ได้รักษาความดันโลหิตสูงจะมีผลดังนี้
  • มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น 3 เท่า
  • มีโอกาสเกิดโรคหัวใจวายเพิ่มขึ้น 6 เท่า
  • มีโอกาสเกิดโรคอัมพาตเพิ่มขึ้น 7 เท่า

โรคเบาหวานกับผู้สูงอายุ

โรคเบาหวานกับผู้สูงอายุ

เรื่องที่ควรให้ความสนใจในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน คือ
1. การดูแลสุขภาพช่องปาก ... เริ่มที่ผู้ป่วยต้องรู้ว่า ตนเองมีความเสี่ยง ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคในช่องปากได้ง่าย ตั้งแต่ภาวะเหงือกอักเสบ และฟันโยก แต่ก็อาจจะป้องกัน และลดภาวะแทรกซ้อนนั้นๆ ได้โดย
  • การเอาใจใส่ดูแลความสะอาดของฟัน และเหงือก รวมทั้งฟันปลอมให้ถูกต้อง
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้คงที่ สม่ำเสมอ โดยควบคุมอาหารหวาน หมั่นออกกำลังกาย รับประทานยา และตรวจตามที่แพทย์นัด
  • ลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ เพราะสารนิโคติน และความร้อนจากการเผาไหม้จะเกิดความเสี่ยงต่อโรคปริทันต์ และการสูญเสียฟัน
  • ไปรับการตรวจช่องปากจากทันตแพทย์ทุก 6 เดือน ถึงแม่ไม่มีฟัน ก็ควรไปตรวจดูความผิดปกติของเนื้อเยื่อในช่องปากด้วย
2. การเข้ารับบริการทันตกรรม
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่มีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างดี สามารถรับบริการทันตกรรมได้ทุกชนิด ยกเว้น กรณีมีโรคแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับบริการ
  • การนัดหมายเพื่อการรักษา ควรเป็นช่วงที่ผู้ป่วยได้รับอินซูลินแล้ว ตั้งแต่ 30 นาที จนถึง 8 ชั่วโมง แล้วแต่ชนิดของอินซูลิน ส่วนใหญ่แนะนำให้รับบริการช่วงเช้า
  • รับประทานอาหารให้เรียบร้อย ตามมื้อปกติ
  • ไม่ควรให้มีความเครียดก่อนมารับบริการ เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
อยากทราบเหมือนกันค่ะ แล้วการรับบริการรักษาทางการแพทย์อื่นๆ นั้น ให้บริการในลักษณะที่คล้ายกันหรือไม่

รู้รอบโรค...โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (Diabetic Retinopathy)

สาเหตุหลักของการสูญเสียการมองเห็นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือ ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา การที่ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิดความผิดปรกติของเส้นเลือดที่จอประสาทตา เกิดจอประสาทตาบวม เลือดออกในน้ำวุ้นตา จอประสาทตาหลุดลอก จนทำให้ตาบอดในที่สุด ดังนั้น ยิ่งผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานนานเท่าไหร่ โอกาสเกิดโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น - ทำไมเป็นเบาหวานแล้วถึงตาบอดได้
เมื่อผู้ป่วยเป็นเบาหวานนาน ๆ หลาย ๆ ปี เส้นเลือดฝอยทั่วร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ในส่วนของตาจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผนังของหลอดเลือดในจอประสาทตา ทำให้เกิดมีการผิดปกติ คือ มีเม็ดเลือด มีน้ำเหลือง และไขมัน ซึมออกมาในจอประสาทตา ทำให้เกิดจอประสาทตาบวม ขาดอ๊อกซิเจน และเมื่อเป็นเช่นนี้นาน ๆ เข้า จะทำให้เกิด : เส้นเลือดงอกขึ้นใหม่ --> เกิดเลือดออก --> ทำให้น้ำวุ้นภายในลูกตาขุ่นมัว --> จอประสาทตาลอก --> และท้ายสุดทำให้ตาบอด เราเรียกโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนี้ว่า "เบาหวานขึ้นตา"
- จะรู้ได้อย่างไรว่ามีเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
ถึงแม้ว่าโรคเบาหวานจะทำให้สูญเสียการมองเห็นลงอย่างมาก หรือตาบอด แต่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บปวด ในความเป็นจริงผู้ป่วยที่มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตา จะไม่รู้สึกถึงความผิดปรกติในการมองเห็น จนกระทั่งเป็นรุนแรงมากแล้ว
ถ้าเบาหวานขึ้นจอประสาทตา และมีจุดกลางรับภาพจอประสาทตาบวม (Diabetic Macula edema) ร่วมด้วย ผู้ป่วยจะรู้สึกมองภาพไม่ชัด ตามัว หรือใช้สายตาระยะใกล้ เช่น อ่านหนังสือ ได้ลำบาก
ถ้ามีเส้นเลือดงอกผิดปรกติ (Neovascularization) บนจอประสาทตาแตก มีเลือดออกในน้ำวุ้นตา (Vitreous hemorrhage) อาจมีอาการเหมือนมีเงาดำ ๆ บัง ลอยไปมา จนถึงมืด และมองอะไรไม่เห็นได้
ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงควรพบจักษุแพทย์ทันที ถ้ามีการมองเห็นผิดปรกติไป เช่น
  • ตามัวลง 1-2 วัน และไม่ดีขึ้น
  • อาการตามัวไม่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น
  • มีเงาดำลอยไปมา (floater)
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ แม้มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตามากแล้ว ก็ยังไม่แสดงการมองเห็นที่ผิดปรกติ จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างที่สุด ที่ผู้ป่วยเบาหวานทุกราย จะต้องได้รับการขยายม่านตา ตรวจจอประสาทตาโดยจักษุแพทย์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะว่า โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาสามารถรักษา และป้องกันไม่ให้ตาบอดได้ ถ้าได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที - ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรดูแลตัวเองอย่างไร เพื่อไม่ให้ตาบอด
เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน สิ่งที่จะต้องปฏิบัติตามมาคือ เข้ารับการขยายม่านตา ตรวจจอประสาทตาจากจักษุแพทย์ เพื่อตรวจดูว่า ตาได้รับผลกระทบอะไรจากโรคเบาหวานหรือยัง และเข้ารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1ครั้ง จักษุแพทย์จะทำการนัดตรวจถี่ขึ้นตามระดับความรุนแรงของโรคเบาหวานที่จอประสาทตา ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ตรวจพบว่ามีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาแล้ว ควรปฏิบัติตัวตามข้อแนะนำต่อไปนี้
  • เข้ารับการตรวจจอประสาทตากับจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามนัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้รับการนัดหมายให้ตรวจตาเพิ่มถี่ขึ้นกว่าปกติ
  • งดสูบบุหรี่
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติและคงที่
  • ถ้ามีโรคความดันโลหิตสูง ต้องรับการรักษาและดูแลจากแพทย์ เพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • เคร่งครัดในการใช้ยาให้ถูกต้องตามเวลาและวิธีการใช้ที่แพทย์แนะนำ
  • ถ้ามีผลข้างเคียงของยา หรือ มีความลำบากในการใช้ยาให้ถูกต้อง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อปรับเปลี่ยนยา หรือวิธีการใช้ใหม่ ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
  • อย่าลังเลใจที่จะปรึกษาแพทย์ หรือจักษุแพทย์ เพื่อขอรับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคเบาหวาน หรือโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เพื่อที่จะได้ดูแลสุขภาพตัวเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
จะรักษาโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้อย่างไร
มีข้อมูลจากการวิจัย พบว่า การรักษาโรคเบาหวาน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปรกติอย่างเคร่งครัด (Intensive management) สามารถชะลอ และเป็นไปได้ที่จะป้องกันการเกิด หรือการดำเนินของโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้
ถ้าจักษุแพทย์ตรวจพบว่า ผู้ป่วยมีโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาแล้ว อาจจะทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม โดยการฉีดสีเข้าทางเส้นเลือด และถ่ายภาพจอประสาทตาด้วยวิธี Fluorescein Angiography พื่อตรวจดูความผิดปรกติของเส้นเลือดที่จอประสาทตา และใช้ประกอบการรักษาด้วยการฉายแสงเลเซอร์ ต่อไป
การฉายแสงเลเซอร์ (Laser photocoagulation)
เป็นวิธีทั่วไปที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ลำแสงเลเซอร์จะถูกฉายลงบนจอประสาทตาโดยตรง เป็นบริเวณกว้าง และ/หรือ เฉพาะจุดที่มีเส้นเลือดผิดปรกติ ทำให้เส้นเลือดผิดปรกติหายไป และช่วยยึดจอประสาทตาติดกับชั้นผนังลูกตา ลดโอกาสการเกิดจอประสาทตาหลุดลอกได้
โดยปรกติแล้ว จักษุแพทย์จะทำการฉายแสงเลเซอร์ให้ที่คลินิคผู้ป่วยนอก โดยผู้ป่วยจะได้รับการหยอดยาชา เพื่อลดอาการระคายเคือง และความรู้สึกไม่สบายตาระหว่างการรักษา บางรายถ้าจำเป็นอาจได้รับการฉีดยาชาบริเวณด้านข้างลูกตา เพื่อลดอาการเจ็บปวดได้ดีขึ้น ในรายที่วิตกกังวล หรือกลัวมาก แพทย์อาจพิจารณาให้ยากล่อมประสาทเพิ่มเติมได้ หลังการฉายแสงเลเซอร์ ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ และไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
ในการรักษาโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาให้สงบลงและหยุดลุกลาม อาจต้องได้รับการฉายแสงเลเซอร์หลายครั้ง จึงจะสามารถควบคุมโรคได้ ในรายที่โรครุนแรง และมีเลือดออกในน้ำวุ้นตา หรือจอประสาทตาหลุดลอก จักษุแพทย์อาจพิจารณารักษาโดยวิธีผ่าตัดน้ำวุ้นตา (Vitrectomy)
การผ่าตัด
ผู้ป่วยที่มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอย่างรุนแรง จนมีเลือดออกในน้ำวุ้นตา หรือจอประสาทตาหลุดลอก จะได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดน้ำวุ้นตา (Vitrectomy) เอาน้ำวุ้นตาที่มีเลือดอยู่ออก และใส่สารน้ำทดแทนไว้ในลูกตา ทำให้แสงสามารถผ่านไปที่จอประสาทตา และสามารถกลับมามองเห็นภาพใหม่ได้การรักษาแบบนี้ สามารถทำได้ทั้งแบบผู้ป่วยนอก หรือพักฟื้นหลังผ่าตัดในโรงพยาบาล 1-2 คืน อาจใช้การฉีดยาชาเฉพาะที่ หรือดมยาสลบ ขึ้นกับความรุนแรงของโรค สภาพทั่วไปของผู้ป่วย และความยากง่ายในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยแต่ละราย จักษุแพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยเป็นราย ๆ ไป เพื่อเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสม และได้ผลการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย
ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด มีโอกาสเกิดได้เหมือนการผ่าตัดทั่วไป แม้จะมีโอกาสน้อย เช่น การติดเชื้อหลังผ่าตัด, มีเลือดออกในลูกตา, ต้อกระจก, ความดันลูกตาสูง ทำให้เป็นต้อหิน, จอประสาทตาหลุดลอก หรือแม้แต่สูญเสียการมองเห็น

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โรคเบาหวาน

บาหวาน จัดเป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากความไม่สมดุลของปริมาณ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท (อาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาล) ที่รับประทานเข้าไปในร่างกายกับปริมาณของฮอร์โมนอินซูลิน ในภาวะปกติ ฮอร์โมนอินซูลิน ถูกหลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อที่ตับอ่อน เมื่อมีน้ำตาลเพิ่มขึ้นในเลือด เพื่อทำให้ร่างกายใช้น้ำตาล ที่ได้มาจากอาหารให้เป็นพลังงานภายในเซลล์ เมื่อปริมาณของฮอร์โมนอินซูลิน ไม่สมดุลกับอาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาล ที่รับประทานเข้าไป ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้ดี จึงเกิดโรคเบาหวานขึ้น
สาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลดังกล่าว ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด มีการศึกษาที่ชี้แนะว่า เป็นผลจากพันธุกรรมหรือ เกิดจากโรคติดเชื้อไวรัสบางชนิดทำลายต่อมไร้ท่อ ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อน หาใช่มีต้นเหตุมาจากการกินน้ำตาลมากเกินไป ดังที่หลายคนเข้าใจกัน (แต่การกินของหวาน ทำให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลยากขึ้น) ในระยะแรกเริ่มที่ เกิดความไม่สมดุล ร่างกายของผู้นั้นจะปรับตนเองโดยอัตโนมัติ โดยผู้นั้นไม่รู้ตัวและยังไม่แสดงอาการออกมา จนกว่าความไม่สมดุลนี้ มีมากเกินกว่าความสามารถ ในการปรับตัวของร่างกายผู้นั้น จะทำได้ ผู้นั้นจะค่อยๆ แสดงอาการ ของโรคเบาหวานออกมา จนกระทั่งมีอาการครบทุกรูปแบบ ดังนั้นกว่าผู้นั้นจะแสดงอาการ ออกมาให้เห็นชัดว่าเป็นโรคเบาหวาน โรคได้เกิดขึ้นก่อนแล้ว นานหลายเดือนหรืออาจจะเป็นปีๆ แต่ยังไม่มีข้อมูลว่า การเข้าไปแก้ไขหรือรักษา ตั้งแต่ในระยะที่ยังไม่แสดงอาการชัดเจน จะเกิดประโยชน์ที่เด่นชัด และดีกว่าการเข้าไปรักษาโรค ในระยะที่มีอาการแล้วหรือไม่ จึงยังไม่มีการตรวจค้นหา ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ในระยะที่ยังไม่แสดงอาการทั้งๆ ที่เรามีวิธีการทดสอบอยู่แล้ว หากในอนาคตมีวิธีการรักษาใหม่ๆ ในระยะที่ยังไม่มีอาการ และสามารถรักษาโรคให้หายขาด หรือหยุดยั้งการดำเนินโรคไว้ที่ตรงนั้นได้ ก็อาจจะมีการตรวจค้นหา ผู้ที่ยังไม่แสดงอาการ เพื่อให้การรักษาดังกล่าวได้ ดังนั้น ชีวิตของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถ แบ่งออกเป็นระยะต่างๆ ดังนี้คือ
 ระยะที่หนึ่ง คือ ระยะเวลาตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์จนถึงหลังคลอด
 ระยะที่สอง คือ ระยะเวลาหลังคลอด จนถึงระยะเวลาที่ตรวจพบว่า เริ่มเกิดความไม่สมดุล แต่ผู้นั้นยังไม่มีอาการของเบาหวาน การแบ่งออกเป็นระยะที่หนึ่งและสอง ยังไม่มีความสำคัญในขณะนี้ เพราะยังไม่มีการรักษาใดๆ ในปัจจุบัน
 ระยะที่สาม คือ ระยะเวลาที่ตรวจพบว่า เกิดความไม่สมดุล และไม่มีอาการ จนถึงผู้นั้นเริ่มมีอาการของโรคเบาหวาน
 ระยะที่สี่ คือ ระยะเวลาที่ผู้นั้นมีอาการของโรคเบาหวาน ไปจนถึงหายจากโรค
 ระยะที่ห้า คือ ระยะที่หายจากโรคเบาหวานจนถึงแก่กรรม
ปัจจุบันเราพบผู้ป่วยและรักษาโรคเบาหวานในระยะที่สี่ ซึ่งเป็นระยะเวลา ที่ผู้ป่วยมาหาแพทย์ โรคเบาหวานไม่เพียงแต่ทำให้เกิดความผิดปกติ ของระดับน้ำตาลในเลือดเท่านั้น แต่ยังทำให้ระบบประสาท และหลอดเลือดเสื่อมเร็วกว่าปกติ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ไม่สามารถแก้ไขความเสื่อมของระบบประสาท และหลอดเลือดที่เสื่อมไปแล้วได้ นักวิทยาศาสตร์หลายท่าน จึงตั้งสมมติฐานว่า ถ้ามีการรักษาโรคเบาหวาน ตั้งแต่แรกเริ่มที่ยังไม่มีอาการ อาจจะป้องกันการเสื่อม ของระบบประสาทและหลอดเลือดได้ ถ้าในอนาคตมีวิธีการรักษาดังกล่าว และป้องกันความเสื่อมได้จริง เราอาจจะมีวิธีการรักษาหรือควบคุมโรคเบาหวาน ตั้งแต่ผู้นั้นเป็นทารกในครรภ์มารดาเลยก็ได้ หากทำได้จะเป็นการป้องกัน ผู้นั้นไม่ ให้มีโอกาสแสดงอาการของโรคเบาหวาน หรือยืดเวลาที่ไม่แสดงโรคเบาหวานออกไป (ระยะที่สองและสาม) หรือลดความรุนแรงของโรคเบาหวาน ถ้าโรคจะต้องเกิดขึ้นในอนาคต ในส่วนที่ประชาชนทั่วไปทำได้เองในขณะนี้คือ การออกกำลังกาย และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในสมดุล ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่อยู่ในระยะที่สอง จนถึงระยะที่สี่และระยะที่ห้าของชีวิต ให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ในท้ายบทความเกี่ยวกับ การออกกำลังกายและน้ำหนักที่อยู่ในสมดุล
โรคเบาหวานพบได้ในประชากรไทยตั้งแต่ร้อยละ ๓ ถึง ๑๐ แล้วแต่พื้นที่และภาวะโภชนาการ โรคนี้พบได้ทั้งสองเพศ มักพบในวัยกลางคน แต่สามารถพบได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้เข้าสู่วัยทอง ใน อดีต ที่ประเทศไทยยังเป็นประเทศด้อยพัฒนา โรคเบาหวานจะพบได้ ประมาณร้อยละ ๑-๔ เท่านั้น โรค เบาหวานมี ๒ ประเภท
 ประเภทที่หนึ่ง เกิดจากร่างกายขาดอินซูลิน เพราะต่อมสร้างอินซูลินที่ตับอ่อนถูกทำลาย
 ประเภทที่สอง ไม่ได้เกิดจากการ ขาดอินซูลิน แต่ร่างกายอาจจะ มีอินซูลินเพิ่มขึ้นในร่างกายแต่ ก็ยังเป็นโรค เบาหวาน เพราะความผิดปกติเริ่มจาก ปัจจัยหรือสารบางอย่างทำให้ ร่างกายไม่สามารถใช้อาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลให้เป็นพลังงานได้ตามปกติ น้ำตาลจึงสะสมเพิ่มขึ้นในร่างกาย และร่างกายต้องหลั่งอินซูลินเพิ่ม ตามระดับน้ำตาล เพื่อพยายามแก้ไขภาวะการที่ไม่สามารถใช้น้ำตาล ให้เป็นพลังงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อต่อมผลิตอินซูลินจนผลิตเพิ่ม ไม่ไหวแล้ว อาการของโรคเบาหวานจึงแสดงออกมา
โรคเบาหวานประเภทที่สอง เป็นประเภทที่พบบ่อยกว่าประเภทแรก ปัจจัยภายนอกบางอย่างที่ขัดขวาง หรือลดประสิทธิภาพของอินซูลิน ในการใช้น้ำตาลให้เป็นพลังงานได้แก่ การกินอาหารที่อุดมสมบูรณ์มากเกินพอ สภาพการทำงานของคนในกรุงเทพ ที่เป็นแบบนั่งอยู่ในสำนักงาน และขาดการออกกำลังกาย การมีความเครียดด้านจิตใจเพิ่มขึ้น จากเรื่องต่างๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ที่ผู้นั้นไม่สามารถแก้ไขได้ การที่ผู้ป่วยได้รับยาที่ต้านฤทธิ์ของอินซูลิน เป็นต้น ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ล้วนส่งเสริมให้เป็นโรคเบาหวานประเภทที่สองได้ง่ายขึ้น อาการนำ ๓ อย่างที่พบบ่อย ของ ผู้ที่เป็น โรค เบาหวานได้แก่ ปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำบ่อย แต่ ผอมลง หรือ น้ำหนักลด ผู้ป่วยยัง กินอาหารได้ หรือกินเก่งขึ้น บางรายอ้วนขึ้นก่อนแล้วค่อยผอมลง แต่ผู้ป่วยจะรู้สึกผิดปกติและมาหาแพทย์ตอนน้ำหนักลด นอกจากนี้ จะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายขึ้น การที่ถ่ายปัสสาวะบ่อยเพราะร่างกายใช้น้ำตาลในร่างกายไม่ได้ดี จึงมีน้ำตาลท่วมท้นในกระแสเลือดและน้ำตาลที่ท่วมท้นจะถูกขับออกมาในปัสสาวะ น้ำตาลที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะ จะดึงน้ำตามออกมาในปัสสาวะด้วย จึงเป็นการเพิ่มปริมาณปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อย ใส และมีปริมาณมาก ซึ่งแตกต่างจากโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ที่ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะบ่อยแต่มีจำนวนน้อย และปัสสาวะขุ่น บางครั้งจึง มีมดมาตอมน้ำตาลในปัสสาวะ คนปกติจะไม่มีน้ำตาลออกมาในปัสสาวะเลย การสูญเสียปริมาณ น้ำปัสสาวะมากทำให้หิวน้ำบ่อยและต้องดื่มน้ำชดเชยบ่อยขึ้น น้ำหนักลดเพราะร่างกายใช้น้ำตาลเป็นพลังงานไม่ได้และ น้ำตาลสูญเปล่า เพราะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ร่างกายจึงต้องไปดึงไขมัน และโปรตีนในร่างกาย มาเผาผลาญเป็นพลังงานแทน ร่างกายจึงผอมลง การถ่ายปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมาก ทำให้มีการสูญเสียเกลือแร่ออกนอกร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียง่ายขึ้น ถ้าผู้ป่วยไม่รักษาจะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่รุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้
ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เรื้อรังและเกิดขึ้นช้าๆ ได้แก่ ความผิดปกติใน การทำงานของระบบประสาท โดยเฉพาะการรับรู้ความรู้สึก และหลอดเลือดแดง ผู้ป่วยเบาหวานจะมีเท้าชา รับรู้ความรู้สึกเจ็บและการสัมผัสลดลง โดยเฉพาะที่ปลายมือปลายเท้า ส่วนผิวในของหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก จะเสื่อมเร็วขึ้น ทำให้หลอดเลือดแดงขนาดเล็กตีบหรือตันง่ายขึ้น ระบบการแข็งตัวของเลือดจะทำให้เลือดแข็งตัวง่ายขึ้นด้วย ปัจจัยทั้งสอง จะส่งเสริมให้หลอดเลือดแดงตีบหรือตันง่ายขึ้น เลือดจึงไปเลี้ยงที่อวัยวะต่างๆ ลดลง และบางครั้งมีการอุดตันของหลอดเลือดแบบฉับพลันได้ จึงเกิดโรคที่เป็นจากผลจากอวัยวะขาดเลือดฉับพลันซึ่งได้แก่เนื้อตายในอวัยวะนั้น ถ้าเกิดที่หลอดเลือดแดงที่ไปหล่อเลี้ยง สมอง หัวใจ ไต ผลร้ายก็คือ ทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคอัมพาตของแขนขา หรืออัมพาตครึ่งซีกหรือหมดสติ หรือเกิดอาการแน่นหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจวายฉับพลัน ไตพิการเรื้อรัง เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้จะค่อยๆ เกิดขึ้นและมีผลให้เกิดผลร้ายซ้ำเติมตามมาอีก ที่สำคัญคือ แผลเบาหวาน และติดเชื้อ ต้อกระจก และอวัยวะปลายทางขาดเลือด เป็นต้น
แผลเบาหวาน เป็นภาวะซ้ำเติมที่รู้จักกันดีทั้งในหมู่แพทย์ พยาบาลและผู้ป่วย แต่การดูแลรักษาแผลเบาหวานมักจะไม่ถูกต้อง ตั้งแต่แรกหรือให้การรักษาช้าเกินไป ผลร้ายที่ตามมาคือ ต้องตัดนิ้วหรือตัดเท้าหรือตัดขาส่วนล่างระดับหน้าแข้งลงไป หรือตัดขาทิ้งตั้งแต่ขาท่อนบนลงมา ผลร้ายเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นอีกในยุคปัจจุบัน เพราะเรามียาและวิธีรักษาที่ดีมาก ที่จะรักษาโรคให้หายขาดตั้งแต่เริ่มต้น ผู้ป่วยเบาหวานต้องดูเท้าตนเองทุกวันว่า มีแผลเกิดขึ้นหรือไม่ ดูให้เห็นชัดๆ ว่า ไม่มีแผลเพราะผู้ป่วยอาจจะมีต้อกระจกรวมอยู่ด้วย ทำให้เห็นไม่ชัด ถ้ารอให้เกิดความรู้สึกเจ็บที่แผล หรือมีไข้ก่อนแล้วค่อยไปหาแพทย์ ก็จะช้าไป ถ้ามีแผลเกิดขึ้นจากการมองเห็นด้วยสายตา ต้องหมั่นทำแผลให้สะอาด และให้แพทย์มาร่วมดูแลแผลด้วยตั้งแต่ต้น ผู้ป่วยหลายรายเชื่อ เรื่องการพอกแผลด้วยสมุนไพรที่บอกต่อๆ กันมา ขอแนะนำให้พบแพทย์ก่อนด้วย ไม่ควรใช้สมุนไพรรักษาตามลำพัง โดยไม่มีใครช่วยติดตามและประเมินผล โดยส่วนตัวไม่แนะนำให้ใช้สมุนไพรรักษาแผลเบาหวาน เพราะเห็นมาหลายรายแล้วว่า ไม่ได้ผล ทำให้พลาดโอกาสที่จะหายจากโรคโดยเร็ว บางครั้งเห็นมีแผลขนาดเล็กที่เท้าแต่มีไข้ขึ้น แสดงว่า แผลได้เซาะลึกเข้าใต้ชั้นผิวหนัง และลามแผ่ออกไปใต้ชั้นผิวหนังแล้ว

การรักษาแผลเบาหวาน ต้องใช้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม โดยเฉพาะแผลที่มีกลิ่นเหม็นเน่า แผลเหล่านี้จะลุกลามได้ง่าย เพราะเลือดมาเลี้ยงน้อย ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ต่อสู้กับเชื้อโรค ตรงบริเวณที่มีแผลไม่ไหว จึงขอแนะนำให้ดูแลแผลเบาหวาน โดยให้แพทย์ร่วมดูแลรักษาตั้งแต่ต้น การป้องกันการเกิดแผลที่เท้า จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด หมั่นสวมรองเท้าหัวปิดที่ไม่คับ ให้เลือกรองเท้าที่นุ่มและสวมใส่สบาย เวลาอาบน้ำควรนวดถูเท้าเบาๆ ให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น หรือแช่เท้าในน้ำอุ่นเล็กน้อย ต้องระวังอย่าใช้น้ำร้อนจัด เพราะผู้ป่วยอาจจะรู้สึกร้อนเพียงเล็กน้อยที่เท้า แต่เท้าบวมพองไปแล้ว พอนวดเท้าและทำความสะอาดเท้าเสร็จ ให้ซับน้ำที่เท้าให้แห้ง เนื่องจากการติดเชื้อที่แผลเบาหวาน เป็นเชื้อโรคที่มากับอุจจาระ จึงอาจจะเป็นไปได้ว่า แผลเบาหวานได้รับเชื้อดังกล่าว จากน้ำในห้องน้ำหรือห้องส้วมที่ปนเปื้อนอุจจาระ ส้วมหรือห้องน้ำของผู้ป่วยเบาหวาน จึงต้องแห้งและสะอาด ถ้ามีแผลและต้องเข้าห้องน้ำหรืออาบน้ำ ต้องห่อเท้าด้วยถุงพลาสติกให้มิดชิด ขณะอาบน้ำหรือเข้าห้องน้ำ และถอดถุงพลาสติกออกทันทีที่ออกจากห้องน้ำ
ยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวานมีทั้งยากินและยาฉีด ยากินจะใช้ไม่ได้ผลในผู้ป่วย ที่เป็นเบาหวานประเภทที่หนึ่ง เพราะ ไม่มีต่อมหรือมีต่อมไม่เพียงพอ ที่จะผลิตอินซูลินและ ยากินต้องอาศัยการออกฤทธิ์กระตุ้นต่อม ให้สร้างอินซูลินเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานประเภทที่หนึ่ง จึงต้องฉีดยาอินซูลินชดเชยตลอดชีพ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานประเภทที่สองใช้ยากินได้ ถ้าโรคไม่รุนแรงจนเกินไป ถ้าโรครุนแรงจนถึงระดับหนึ่ง การใช้ยากินอย่างเดียวจะไม่ได้ผลเช่นกัน จึงต้องใช้ยาฉีดร่วมด้วยในกรณีนี้

โดยทั่วไปผู้ป่วยต้องลดการกินอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลหรือถึงกับพยายามหลีกเลี่ยง ถ้ายังควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ การรักษาต้องติดตามการตรวจระดับน้ำตาลเป็นระยะๆ ว่า การรักษาได้ผลหรือไม่ หรือได้ผลน้อยไปหรือมากไป? แต่ในช่วงแรกที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักลดลงมาก ยังไม่ต้องควบคุมอาหารมากนัก ก็ได้ปล่อยให้ผู้ป่วยกินอาหาร และได้ยาจนน้ำหนักตัวอยู่ ในเกณฑ์ที่เหมาะสมก่อน แล้วค่อยจำกัดอาหารต่อไป การควบคุมอาหารจึงต้องควบคุมให้อยู่ในสมดุล

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการรักษาเบาหวานที่สำคัญมากด้วย ไม่ควรออกกำลังกายหักโหมและทันทีเพราะจะทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อบาดเจ็บได้ การออกกำลังกายที่เหมาะสมคือ การค่อยๆ ออกกำลังกายจนมีเหงื่อเล็กน้อย ระยะเวลาที่ออกกำลังกายอยู่ระหว่าง ๒๐ - ๓๐ นาที ให้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ - ๓ ครั้ง ถ้าสามารถออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันได้ จะยิ่งดีมาก และผู้นั้นจะออกกำลังกายได้นานขึ้นโดยไม่เหนื่อยง่าย ปริมาณงานของการออกกำลังกายแต่ละวัน จะต้องมีขนาดอย่างน้อยเท่ากับการเดินเร็วนาน ๓๐ นาทีต่อวัน สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินอยู่แล้ว หรือมีปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อมหรือเจ็บที่เท้า การออกกำลังกายในสระน้ำ จะช่วยให้มีการออกกำลังกาย โดยไม่ทำให้ขาหรือเข่ามีปัญหามากขึ้น ควรออกกำลังกายโดยเล่นกีฬาบางอย่าง หรือ เดินเร็วๆ หรือวิ่งเหยาะๆ เป็นต้น

การรักษาและการออกกำลังกายที่ได้สมดุล จะทำให้ผู้นั้นมีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย ของคนปกติทั่วไปตามค่าดัชนีมวลกาย ทำให้ ผู้ป่วยรู้สึกแข็งแรงดีกระฉับกระเฉงเหมือนเดิม นำหนักตัวที่เหมาะสม สามารถทราบได้ด้วยตนเองอยู่แล้ว ไม่ต้องให้ใครมาบอกก็รู้อยู่แก่ใจ ถ้าต้องการข้อมูลในเชิงวิทยาศาสตร์ที่เป็นตัวเลข เราสามารถคำนวณได้ โดยเอาน้ำหนักเป็นกิโลกรัมเป็นตัวตั้ง แล้วหารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตร ที่ยกกำลังสองแล้วสูตรคำนวณคือ น้ำหนัก(กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูงยกกำลังสอง (เมตร) เช่น หนัก ๗๐ กิโลกรัมและสูง ๑.๘๐ เมตร จะได้ดัชนีมวลกายเท่ากับ ๗๐ หารด้วย (๑.๘๐) ๒ ได้เท่ากับ ๗๐ หารด้วย ๓.๒๔ เท่ากับ ๒๑.๖ จำง่ายๆ ว่า ค่าปกติอยู่ระหว่าง ๒๐-๒๕ ถ้า อยู่ระหว่าง ๒๖-๓๐ ให้เริ่มระวังว่า น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอีก ต้องเริ่มควบคุมน้ำหนัก ถ้าได้ค่าเกิน ๓๐ ต้องหามาตรการควบคุมน้ำหนักให้ได้
การกินแต่อาหารกลุ่ม fast food ประจำ การนั่งเล่นเกมอยู่หน้าโทรทัศน์เป็นประจำ ล้วนแต่เป็นการบ่อนทำลายสุขภาพของตนเอง การควบคุมน้ำหนัก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี และการออกกำลังกาย ถือว่า เป็นเรื่องที่เราทุกคนสามารถทำได้ในทุกระยะของชีวิตคน เป็นเบาหวานตั้งแต่เกิดมา และสามารถทำได้ในประชากรทั่วไป ไม่ว่าจะป่วยหรือไม่เคยป่วยเป็นโรคใดก็ตาม
การปฏิบัติตนในด้านอื่นๆ ของผู้ที่เป็นเบาหวานอีกข้อคือ ผู้ป่วยต้องกินยาต้านเบาหวานหรือฉีดยาให้สม่ำเสมอ ส่วนการกินยาสมุนไพรต่างๆ น่าจะช่วยให้สภาพจิตใจดีขึ้นได้ ถ้ามีผู้นั้นมีความเชื่อในสรรพคุณของสมุนไพร เพียงแต่ ผู้เขียนสามารถรับรองได้ว่า การกินแต่ยาแผนปัจจุบันอย่างเดียว ก็สามารถคุมโรคเบาหวานได้แน่นอนอยู่แล้ว ผู้ที่กินสมุนไพรร่วมด้วยโดยที่เชื่อว่า สมุนไพรดังกล่าวไม่มีพิษหรือผลร้ายใดๆ เลยนั้น ผู้กินก็ต้องประเมินผลการกินสมุนไพร เหมือนกับการกินยาแผนปัจจุบันด้วยเหมือนกัน
ผู้ที่เป็นเบาหวานต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆ ได้ง่ายขึ้นหรือทำให้การรักษาเบาหวานยากขึ้น เช่น ต้องงดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุราจนเมามาย หรือดื่มเป็นประจำที่มากเกินไป อยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์และถ่ายเท หลีกเลี่ยงการสัมผัสโรคติดเชื้อบางอย่าง เช่น วัณโรค ไม่เกาตามผิวหนังอย่างรุนแรงเมื่อรู้สึกคัน โดยเฉพาะตามรักแร้หรือในที่อับชื้น ไม่ขยี้หนังตารุนแรงเมื่อรู้สึกคันตา ต้องล้างมือเมื่อสัมผัสสิ่งสกปรก หรือเมื่อจะแตะต้องผิวหนังของตนเอง โดยเฉพาะในบริเวณที่อับชื้น ต้องล้างมือตนเองให้สะอาด เมื่อจะทำแผลของตนเอง เป็นต้น

ขณะที่รักษาโรคเบาหวาน หากมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นโดยที่ไม่เคยมีมาก่อน ต้องรีบหาสาเหตุและให้การแก้ไข เช่น ถ้ามีอาการ เหงื่อแตก หมดแรงจะเป็นลม โดยไม่มีอาการแน่นหน้าอก หรือถ่ายอุจจาระดำ มักเกิดจาก น้ำตาลต่ำในเลือด ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจึงต้องมีเม็ดลูกกวาด หรือก้อนน้ำตาลเตรียมไว้อม เพื่อแก้ไขอาการดังกล่าว การอมลูกกวาดหรือก้อนน้ำตาล หรือดื่มน้ำหวานแล้วฟื้นคืนสติภายในเวลา ๕ นาที จะ ยืนยันว่า อาการดังกล่าว มีสาเหตุจากน้ำตาลในเลือดต่ำจริง หากเกิดภาวะนี้ ต้องหาสาเหตุและแก้ไขอีกเช่นกัน ถ้ามีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้นตามลำดับ ต้องระวังว่า เกิดจากการรักษาเบาหวานที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ได้รักษาอย่างสม่ำเสมอ ต้องไปพบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุและแก้ไขอีกเช่นกัน

โดยสรุป โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบบ่อย การรักษาไม่ยุ่งยาก และผู้ป่วยสามารถมีชีวิตอย่างเป็นปกติสุขได้ แต่ผู้ป่วยต้องเข้าใจโรคและร่วมมือกับแพทย์ในการรักษาอย่างต่อเนื่อง การมีพฤติกรรมที่เหมาะสม การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การควบคุมน้ำหนักโดยการรับประทานอาหารให้ถูกต้อง เป็นการส่งเสริมสุขภาพของผู้นั้น และทำให้เจ็บป่วยจากโรคอื่นน้อยลง การรักษาจึงจะได้ผลดี และส่งผลให้ร่างกายคงอยู่ในสภาพที่แข็งแรง และใช้งานได้นานเท่าคนปกติได้
 
    
  แหล่งข้อมูล : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  
  

โรคฉี่หนู vs เครื่องดื่มกระป๋อง

Friday, November 13, 2009

โรคฉี่หนู vs เครื่องดื่มกระป๋อง (Disease vs Drinking can)


เมื่อวานซืนได้รับเมล์ที่ส่งมาจากที่อื่นอีกที เป็นเรื่องเกี่ยวกับโรคฉี่หนูที่ตกค้างอยู่บนกระป๋องเครื่องดื่มยี่ห้อดังชื่อหนึ่ง จะเป็นเรื่องอะไรนั้น ตามไปอ่านเลยค่ะ แต่เป็นเรื่องอันตรายที่มองข้ามไปไม่ได้จริงๆ ...



***** อย่าประมาทนะขอบอก*****

เพื่อนส่งอีเมล์มาให้อ่าน...

เพื่อนเป็นคนระยองไ ปเยี่ยมญาติป่วยที่โรงพยาบาล จันทบุรี ด้วยความหิวน้ำจึงได้ซื้อโค้กมากิน แต่เช็ดฝากระป๋องไม่สะอาด เมื่อกลับบ้านที่ระยอง ตกกลางคืนจู่ๆ ก็มีไข้แล้วชัก ภรรยานำส่ง ร.พ. ระยอง

นอนอยู่สามวัน หมอหาสาเหตุไม่พบ มีอาการไม่รู้ตัว ตาถลน ญาติจึงนำเข้าร.พ. กรุงเทพ เพราะสงสัยเป็นโรคฉี่หนูปรากฏเป็นเช่นนั้นจริงๆ

นอนไม่รู้ตัวอยู่สองอาทิตย์ หลังจากนั้นค่อยดีขึ้น รักษาตัวอยู่หนึ่งเดือนครึ่ง หมดค่ารักษาแปดแสนกว่า แต่ความจำเสื่อม ตอนนี้ก็อยู่ในระหว่างฟื้นฟูความจำ พูดจาวกวน หมอที่โรงพยาบาลกรุงเทพบอกว่า นี่เป็นคนที่ไม่ถึงสิบที่หายจากโรคนี้ในเมืองไทย และถ้าเพื่อนหรือญาติ ใครเป็น ให้ส่ง ร.พ. กรุงเทพ ด่วน ! เพราะเป็นที่เดียวที่มีแพทย์เชี่ยวชาญเรื่องนี้เฉพาะ ช่วยอ่านหน่อย อันนี้สำคัญ นี่ไม่ใช่เรื่อง ตลกนะ !!!

ซื้อโค้กกระป๋องหรือเครื่องดื่มบรรจุกระป๋องชนิดใดก็ตาม ก่อนดื่ม คุณต้องแน่ใจว่า ได้ล้างฝากระป๋องด้วยน้ำก๊อกและสบู่แล้ว หรือถ้าไม่มี ก็ขอให้ใช้หลอดดูดแทน

เพื่อนคนหนึ่งของครอบครัวได้เสียชีวิตหลังจากดื่มโซดากระป๋องโดยไม่ได้ล้างฝากระป๋องก่อนดื่ม !!! ปรากฏว่าที่ฝากระป๋องเต็มไปด้วยฉี่หนูที่แห้งแล้ว และเป็นพิษซึ่งมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต !!!!

เครื่องดื่มกระป๋องและอาหารกระป๋องมักถูกเก็บไว้ในโกดังเก็บของและตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งมีหนูเข้ามาอยู่เต็มไปหมด และของเหล่านี้ก็จะถูกส่งต่อไปจำหน่ายยังร้านค้าปลีกต่างๆ โดยที่ไม่ได้ทำความสะอาดอย่างถูกต้อง

โปรดส่งข้อความนี้ต่อไปยังคนที่คุณห่วงใย

ขอบคุณ

กองสาธาณสุข 02 564-6539

รู้รอบโรค......โรคฉี่หนู

โรคฉี่หนูเป็นที่มักจะระบาดหน้ฝนโดยจะพบเชื้อโรคในปัสสาวะของหนูไม่เป็นธรรมสำหับหน ูเนื่องจากเชื้อนี้สามารถพบได้ใน สุนัข สุนัขจิ้งจอก สัตว์เลี้ยงในบ้าน แต่พบมากในหนูซึ่งสามารถแพร่เชื้อออกมาได้โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค
เชื้อที่เป็นสาเหตุ
ลักษณะของตัวเชื้อ
เป็นเชื้อแบคทีเรียเป็นเส้นเกลียว spirochete เคลื่อนที่โดยการหมุน เชื้อนี้อยู่ตามดิน โคลน แหล่งน้ำ น้ำตก แมาน้ำลำคลองได้นานเป็นเดือน เคยมีรายงานว่าอยู่ได้นาน 6 เดือนในที่น้ำท่วมขังโดยมีปัจจัยแวดล้อมเหมาะสม เช่น มีความชื้น แสงส่องไม่ถึง มีความเป็นกรดปานกลาง
เกิดจากเชื้อ Leptospira interogans เป็นเชื้อแบคทีเรียมี 16 serogroup เชื้อที่เป็นสาเหตุในกรุงเทพ คือ bataviae และ javanica ส่วนในภูมิภาคเป็น akiyami,icterohemorrhagia มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว มีน้ำขัง
การเกิดโรค
พบได้ทั่วโลกยกเว้นเขตขั้วโลกเนื่องจากมีสัตว์ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าปล่อยเชื้อนี้กับปัสสาวะ คนติดเชื้อนี้จากการสัมผัสปัสสาวะหรือดินที่ปนเปื้อนเชื้อนี้
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  • เกษตรกร ชาวไร่ชาวนา ชาวสวน
  • คนงานฟาณืมเลี้ยงสัตว์ โค สุกร ปลา
  • กรรมกรขุดท่อระบายน้ำ เหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์
  • กลุ่มอื่นๆ เช่น แพทย์ เจ้าหน้าที่ห้องทดลอง ทหารตำรวจที่ปฏิบัติงานตามป่าเขา
  • กลุ่มประชาชนทั่วไป มักเป็นเกิดในที่มีน้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ผู้ที่ปรุงอาหารหรือรับประทานอาหารที่ไม่สุก หรือปล่อยอาหารทิ้งไว้โดยไม่ปิดฝา